หลอดเลือดหัวใจตีบ-ตันกับโภชนบำบัด


การป้องกันและดูแลสุขภาพด้วยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม เริ่มต้นด้วยการเลิกทำร้ายผิวในของหลอดเลือด ด้วยการงดสูบบุหรี่และ หลีกเลี่ยงสูดควันบุหรี่ของคนอื่น ลดหรืองดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ อาทิ ผักสด ผลไม้สดหลายรสและหลากสี เลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง รับประทานอาหารแต่พอดีกับแคลอรีที่ใช้ในแต่ละวันเพื่อป้องกันการสะสมไขมันที่ทำให้อ้วน มีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเหมาะสม ไม่นั่งทำงานอยู่กับโต๊ะนานเกินไป หมั่นหาเวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผ่อนคลายความเครียด รักษาความดันโลหิต ควบคุมระดับไขมันในเลือด และเบาหวาน ที่สำคัญควรตรวจสุขภาพเป็นประจำ

ผศ.ดร.เรวดี จงสุวัฒน์ ชมรมโภชนวิทยามหิดล เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลดีผลเสียของการบริโภคน้ำมันแต่ละชนิดว่าน้ำมันชนิดใดดีต่อร่างกาย ชนิดใดไม่เหมาะสมต่อผู้ที่เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง เป็นต้น หลายคนจึงเริ่มหลีกเลี่ยงน้ำมันไม่ดีหันมาใช้น้ำมันที่มีสัดส่วนกรดไขมันชนิดดีมากขึ้น ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อสุขภาพที่ดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันคาโนล่า เป็นต้น ซึ่งพบว่าจะมีกรดไขมันดีคือชนิดไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว มีผลต่อการเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) และลด คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ กรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6 เป็นกรดไขมันจำเป็น ซึ่งหมายถึงกรดไขมันที่ร่างกายสร้างไม่ได้ต้องได้รับจากอาหาร กรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6 ที่ได้จากน้ำมันทานตะวัน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและเป็นสารตั้งต้นในการสร้าง EPA และ DHA ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด มีส่วนช่วยให้สมองและดวงตาทำงานได้ดี

ปัจจุบันนักวิจัยพบว่าร่างกายของคนเราควรบริโภคกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ในปริมาณที่พอเหมาะและในสัดส่วนที่สมดุลจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย โดยที่สถาบันแพทย์ University of Maryland แนะนำ ให้บริโภค 6 : โอเมก้า 3 ในสัดส่วน 4 : 1 เพื่อความสมดุลของร่างกายและช่วยป้องกันภาวะผิดปกติของร่างกาย ธรรมชาติไม่สามารถสร้างน้ำมันที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6 ในสัดส่วนที่เหมาะสม จึงเป็นทางเลือกใหม่ในการบริโภคน้ำมันชนิดใหม่ที่เกิดจากการผสมผสาน ระหว่าง “น้ำมันคาโนล่าผสมน้ำมันทานตะวัน” ซึ่งน้ำมัน 2 ชนิดนี้เป็นที่ยอมรับในกลุ่มผู้รักสุขภาพว่าเป็นน้ำมันที่ดีมีคุณค่าต่อสุขภาพ โดยนำ

มาผสมในสัดส่วนน้ำมันคาโนล่า 4 ส่วนต่อน้ำมันทานตะวัน 1 ส่วน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ผ่านการค้นคว้าแล้วว่าสมดุลและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6 ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับการบริโภค

สำหรับน้ำมันคาโนล่าผสมน้ำมันทานตะวัน ต้องผ่านการผสมผสานในสัดส่วนที่เหมาะสม คือ 4 : 1 จึงจะได้เป็นน้ำมันผสมที่มีความสมดุลของกรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6 ที่เหมาะสมและดีต่อสุขภาพ พร้อมกันนี้น้ำมันผสมของน้ำมันคาโนล่าและน้ำมันทานตะวันในสัดส่วนนี้ยังมีกรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันทรานซ์ต่ำ จึงไม่ส่งผลให้ระดับคอเลสเตอ รอลชนิดไม่ดี (LDL) เพิ่ม ขึ้น นอกจากนี้ Blended oil ที่เกิดจากการผสมของน้ำมันคาโนล่าและน้ำมันทานตะวันในสัดส่วนนี้ยังมีโอเมก้า 9 และวิตามินอีสูง มีจุดเดือดสูงถึง 230 องศา จึงสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายประเภท ทั้ง ผัด ทอด ย่าง หมัก ทำน้ำสลัด เป็นต้น การเลือกบริโภคน้ำมันที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ซึ่งน้ำมันชนิดนี้มี โอเมก้า 3 และ 6 ในสัดส่วนที่สมดุลและเหมาะสมจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกายและยังจะช่วยส่งเสริมสุขภาพได้ จึงน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้บริโภคในยุคนี้ การรู้ทันโรคร้าย หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โรคร้ายไหน ๆ ก็มิอาจคุกคามท่านได้

ข้อมูลจาก ดร.อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์ ประธานมูลนิธิคุณแม่คุณภาพ.

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์