ภยันตรายจากไขมันในเลือด

โคเลสเตอรอลในเลือดมีกี่ชนิด
เมื่อท่านไปรับการตรวจเลือดเพื่อดูระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ค่าโคเลสเตอรอลที่ตรวจวัดได้ จะเป็นผลรวมของโคเลสเตอรอลที่ได้มาจากแอล ดี แอล โคเลสเตอรอล LDL, เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล HDL และ วี แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล VLDL (คือ ค่าไตรกลีเซอไรด์ หารด้วย 5)
ในคนที่มีระดับไขมันในเลือดปกติร้อยละ 70 ของโคเลสเตอรอลที่วัดได้มาจากแอล ดี แอลและ ร้อยละ 17 มาจาก เอช ดี แอล ดังนั้นส่วนใหญ่ของผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลสูงจะเกิดจากการที่มีแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง อย่างไรก็ตามผู้ที่มีระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงมากก็สามารถทำให้ระดับโคเลสเตอรอลรวมสูงได้เช่นกัน

ชนิดของไขมัน
Total Cholesterol < 200
HDL Cholesterol > 40
LDL Cholesterol < 130
Triglyceride < 200
แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล สูง เป็นไขมันที่เป็นต้นเหตุและ เป็นตัวการที่สำคัญที่สุดของโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ระดับแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลในเลือดสูงมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันและ หลอดเลือดสมองตีบตัน
เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล เป็นไขมันที่มีหน้าที่ป้องกันและต่อต้านการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง ระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอลที่ต่ำ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
นอกจากนี้ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่สูงก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งเช่นเดียวกัน
ไขมันในเลือดประมาณ 2/3 ได้มาจากการสร้างที่ตับโดยการย่อจากไขมันอิ่มตัว [saturated fat ] ที่เรารับประทานหากเรารับประทานไขมันอิ่มตัวมากไขมันในเลือดก็จะสูง แต่อาหารที่เรารับประทานก็ไม่ได้มีมีเพียงไขมันชนิดเดียวแต่จะประกอบส่วนผสม ของไขมันดังนี้คือ
* ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated)
* ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน(polyunsaturated)
* ไขมันอิ่มตัว( saturated fatty acids)
* trans-fatty acids
ปริมาณไขมันแต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบของไขมันต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่ชนิดอาหาร เช่นน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์มหรือไขมันจากสัตว์จะมีไขมันอิ่มตัวสูง ไขมันที่เป็นผลเสียต่อร่างกายได้แก่ไขมันอิ่มตัว( saturated fatty acids) และ trans-fatty acids ซึ่งจะต้องให้ความสนใจเป็นอันดับแรก ไขมันอิ่มตัวจะพบมากในอาหารไขมันที่มาจากสัตว์เช่นน้ำมันหมู ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ อาหารทอดทั้งหลายส่วนใหญ่จะทอดด้วยน้ำมันปาล์มหรือน้ำมันมะพร้าว ดังนั้นจึงต้องเลี่ยงอาหารทอด
แนวทางป้องกันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง (จรวยพร ธรณินทร์, 2538)
1. บริโภคน้ำมันให้น้อยลง โดยปริมาณไขมันในอาหารไม่ควรเกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมด ด้วยการลดหรืองด อาหารจำพวก ของทอด ของผัด ของมันเช่น เนย งา มะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง เนื้อสัตว์ มะพร้าว กะทิ ไข่แดง นม
2. บริโภค โคเลสเตอรอลให้น้อยลง โดยการลดหรืองด อาหารอาหารประเภทสมอง ไข่แดง
เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเลที่มีเปลือกเช่น กุ้ง หอย ปู
3. บริโภคกรดไขมันอิ่มตัวให้น้อยลง ด้วยการลดหรืองด น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม นม เนย กะทิ เนื้อวัว เนื้อหมู
4. บริโภคไขมันไม่อิ่มตัวให้พอเหมาะ ด้วยการบริโภคน้ำมันมะกอก 1 ส่วนผสมกับน้ำมันถั่วเหลือง 1 ส่วน แต่เนื่องจากน้ำมันมะกอกราคาแพงและหาซื้อได้ยาก จึงแนะนำให้ใช้น้ำมันรำข้าว 1 ส่วน ผสมกับน้ำมันถั่วเหลือง 1 ส่วนพร้อมบริโภคปลาทะเลสัปดาห์ละประมาณ 3 มื้อ
สมุนไพรที่มีสรรพคุณลดไขมันในเลือด
เห็ดหูหนู, เห็ดหลินจือ, กระเจี๊ยบ, ดอกคำฝอย, กระเทียม, หัวหอม, เสาวรส, ถั่วเหลือง

แนะนำผลิตภัณฑ์ : เกรพซีด พลัส ไลโคปีน